วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบ วิชาโปรแกรมนำเสนอข้อมูลด้วย powerpoint

1. จงบอกเหตุผลในการใช้โปรแกรมpowerpoint ในการนำเสนอ
2.จงบอกขันตอนในการนำเสนอโดยใช้โปรแกรม powerpoint
3. สื่อในการนำเสนอได้แก่
4. อุปสรรค์ในการนำเสนอข้อมูลด้วย powerpoint ได้แก่
5.ส่วนประกอบใน slid ได้แก่

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคในการสร้างสไลด์ด้วย powerpoint

เทคนิคการนำเสนอเรื่องราวด้วย PowerPoint ที่เรียบง่าย ได้ประเด็น เห็นผล ในการนำเสนอ Presentation Zen มีสาระที่น่าสนใจในการสร้าง Presentation ที่ดี ดังนี้
Presentation ทีดีควรจะ
· Short
· Simple
· Legible
· Engaging
สมองคนเรามีสองซีกคือซีกซ้ายและซีกขวา Daniel Pink ได้กล่าวไว้ในหนังสือ A Whole New Mind ว่าสมองซีกขวาเป็นตัวแทนของอารมณ์ ความรู้สึก และความสุนทรี ส่วนซีกซ้ายนั้นทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล และ สัมผัสที่ใช้ประโยชน์จากสมองซีกขวาในการนำเสนอ presentation ประกอบด้วย
· การออกแบบที่ไม่ยึดติดรูปแบบ
· เรื่องราวที่น่าติดตาม
· การผสมผสานของเนื้อหาและการนำเสนอ
· การนำผู้ฟังไปสู่ประเด็นอย่างฉลาด
· นำเสนออย่างธรรมชาติ
· ให้ความหมายของเรื่องราวกับผู้ฟัง
วิธีการสร้างสไลด์ที่ดีที่มีองค์ประกอบที่เรียบง่าย มีความสมดุล และสวยงาม (simple, balance, beautiful) นั้นต้องเริ่มต้นจากการลืมสิ่งที่เคยปฏิบัติมาในการทำสไลด์แบบเดิม แล้วเริ่มต้นจากความว่างหรือ the beginner's mind ที่พร้อมที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ๆ “In the beginner's mind there are many possibilities, in the expert's mind there are few.” Shunryu Suzuki
ใส่ความรัก จินตนาการ และจิตวิญญาณลงในงานของเรา หากปราศจากสิ่งดังกล่าวก็จะไม่เกิดการสร้างสรรใดๆ ลองเริ่มต้นจากหลักการต่อไปนี้
· สร้างสไลด์ที่ช่วยทำให้งานเรามีคุณค่า น่าสนใจ เป็นการนำผู้ฟังให้คล้อยตามและเกิดความประทับใจว่าสิ่งที่เรานำเสนอนั้นเป็นเช่นนั้นจริงๆ
· พยายามเลี่ยงการใช้สีที่ดู chessy
· หลีกเลี่ยงการใช้เทคนิคพิเศษในการนำเสนอ keep it simple!
· ทำ script ประกอบเนื้อหาแจกทีหลัง
เริ่มต้นจากการออกแบบ Planning Analog ในขั้นตอนที่สำคัญนี้ด้วยกระดาษและดินสอ ร่างความคิดลงในความว่างเปล่าของกระดาษ “If you have the ideas, you can do a lot without machinery. Once you have those ideas, the machinery starts working for you……Most ideas you can do pretty dam well with a stick in the sand.” Alan Kay
“What a computer is to me is it's the most remarkable tool that we've ever come up with, and it's the equivalent of a bicycle for our minds.” Steve Jobs
หาคำตอบจากคำถามต่อไปนี้
· มีเวลาในการนำเสนอเท่าไหร่
· สถานที่ที่จะไปบรรยายเป็นอย่างไร
· ไปบรรยายช่วงไหนของวัน
· ผู้ฟังเป็นใคร
· ผู้ฟังมีพื้นหลังอย่างไร
· ความมุ่งหวังของผู้ฟังต่อการนำเสนอ
· หัวข้อที่ถูกกำหนดมาเป็นอย่างไร
· อยากให้เจ้าภาพเตรียมการอย่างไร
· อุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อสถานที่และผู้ฟัง
· อะไรคือเป้าหมายพื้นฐานของเราในการบรรยายในครั้งนี้
· เรื่องราวที่จะนำเสนอเป็นอย่างไร
มีสองสิ่งที่จะต้องนึกถึงอยู่เสมอคือ
1. จะนำเสนออะไร What's my point?
2. มันสำคัญอย่างไร What does it matter?
สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการเตรียม handout ให้เตรียม handout ที่ประกอบด้วยรายละเอียดของสิ่งที่จะบรรยายเพื่อให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์สูงสุด และไม่ต้องใส่ข้อมูลเหล่านี้ลงในสไลด์ที่จะบรรยาย อย่าแจก handout ที่เป็น presentation เป็นอันขาดสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการเตรียม handout ให้เตรียม handout ที่ประกอบด้วยรายละเอียดของสิ่งที่จะบรรยายเพื่อให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์สูงสุด และไม่ต้องใส่ข้อมูลเหล่านี้ลงในสไลด์ที่จะบรรยาย อย่าแจก handout ที่เป็น presentation เป็นอันขาด
หลักปฏิบัติ 6 ประการที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการนำเสนองาน The six principles-SUCCESs-are your weapons.
· Simplicity: ความเรียบง่าย ถ้าคิดว่าจะต้องใส่ทุกอย่างลงในสไลด์เพราะมีความสำคัญหมด ในที่สุดก็จะหาเรื่องที่สำคัญไม่ได้เลยสักอย่าง
· Unexpectedness: ทำให้เกิดความประหลาดใจ ความอยากรู้ การติดตามเรื่องราว
· Concreteness: มีความมั่นคงอยู่บนหลักการ ใช้คำพูดในการบรรยายที่เป็นธรรมชาติ ยกตัวอย่างประกอบที่เป็นจริง
· Credibility น่าเชื่อถือ
· Emotions: สร้างอารมณ์ร่วม ให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับเนื้อหา และเข้าใจประเด็นที่ต้องการสื่อสาร
· Stories: เนื้อหา นำเสนอเนื้อหาจากตัวตนของเรา ประเด็นอยู่ที่ต้องทำใฟ้ผู้ฟังเข้าใจในความคิดของเราอย่างชัดเจน การนำเสนอที่ดีต้องมีเรื่องราว เรื่องราวที่ดีจ้องน่าสนใจ มีจุดเริ่มต้นที่แจ่มชัด น่าติดตาม ดึงผู้ฟังให้เข้ามาอยู่ในเนื่อหา และมีบทสรุปที่ชัดเจน
หลักในการนำเสนอ(เมื่อคุณอยู่บนเวที)
· ไม่มีใครรู้ดีกว่าตัวคุณ ว่าคุณกำลังจะทำอะไร
· เวลานำเสนอให้ทำตัวตามสบาย ยืนและใช้ภาษาที่เรียบง่าย เป็นส่วนหนึ่งของผู้ฟัง
· อย่าให้ความสนใจกับเทคโนโลยีในกรณีที่เกิดปัญหา นำเสนอไปด้วยความต่อเนื่องอย่าทำให้อารมณ์ผู้ฟังสะดุด
· แทรกอารมณ์ขันบ้าง และยกตัวอย่างประกอบที่ทำให้ผู้ฟังต้องคิดตาม
นำเสนอแบบ Zen: เรียบง่าย เป็นธรรมชาติ สง่างาม
· Kanso(simplicity): Simplicity means the achievement of maximum effect with minimum means.
· Shizen(Naturalness): The aesthetic concept of naturalness or shizen “prohibits the use of elaborate designs and over refinement”.
· Shibumi(Elegance): represent elegant simplicity and articulate brevity, and understand elegant.
The zen aesthetic values include:
· simplicity คงความเรียบง่าย
· subtlety แฝงด้วยเสน่ห์น่าติดตาม
· elegant ดูสง่างาม
· suggestive rather than the descriptive or obvious นำเสนอมืใช่ชี้นำ
· naturalness เป็นธรรมชาติ
· empty space มีข่องว่างของสายตาบนสไลด์
· stillness, tranquility มีความสงบนิ่ง
· eliminating the nonessential ขจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออ
ข้อคิดเกี่ยวกับ LOGO Who says your logo should be on every slides? “Branding is one of the most overused and misunderstood terms in use today. Try removing logos from all slides except the first and the last slides.
The 1-7-7 rule:
· have only one main idea per slide. ในสไลด์หนึ่งแผ่นพยายามนำเสนอแค่ประเด็นเดียว
· Have only seven lines of text maximum. ไม่ควรมีข้อความเกิน 7 บรรทัด
· Use only seven words per line maximum. ในหนึ่งบรรทัดไม่ควรใช้ตำเกิน 7 คำ
Pictures: Picture superiority effect: The picture superiority effect says that pictures are remembered better than words, especially when people are casually exposed to the information and the expose is for a very few limited of time. Images are a powerful and natural way for humans to communicate. เลือกภาพประกอบที่สื่อความหมายแทนคำพูด
Quote: การยกคำกล่าวของผู้มีชื่อเสียง หรือคำกล่าวที่กินใจจะช่วยการเข้าประเด็นของการนำเสนอและการเน้นน้ำหนักของเรื่องได้ดี Empty Space: ให้ความสำคัญกับช่องว่างบนสไลด์ที่ทำให้ความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ฟังเปลี่ยนไป ลองดูหน้าจอของ Google เป็นตัวอย่าง Empty space can convey a feeling of high quality, sophistication, and importance.
The big fours: Contrast, Repetition, Alignment, Proximity.
· use the principle of contrast to create strong dynamic differences among elements that are different. It is different, make it very different.
· Use the principle of repetition to repeat selected elements throughout your slides. This can make your slide unity and organization.
· Use the principle of alignment to connect elements visually on a slide. Grids are very useful for achieving good alignment. This will give your slide clean, well-organized look.
· Use the principle of proximity to ensure that related items are grouped together. People will tend to interpret items together or near to earth other as belonging to the same group.
A good visual will enhance the speaker's message. หลักของการนำเสนอที่ดี
· Create visuals witch are simple and clear design priority that contain elements which guide the viewers eyes. สไลด์ที่ประกอบด้วยการออกแบบที่เรียบง่ายนำสายตาผู้ฟังไปสู่สิ่งที่จะนำเสนอ
· Have a visual theme that avoid tired, overused software templates. พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ template
· Limit bullet points. ใช้ bullet point ไม่เกิน 7 ข้อ
· Use high quality graphic. ใช้ภาพกราฟฟิคที่มีคุณภาพ
· Build complex graphics to support your narrative. สร้างองค์ประกอบของกราฟฟิคที่จะช่วยเน้นสิ่งที่นำเสนอ
· think”maximum effect with minimum mean” คิดถึงหลักเซน
· learn to see empty space. And learn to use it in a way that things
Delivery:หลักในการนำเสนอ
· A good presenter is fully committed to the moment, committed to being there with the audience at that particular place and time. เป็นส่วนหนึ่งของสถานที่และเวลาในขณะนั้น
· The mind that is no mind. ทำจิตให้ว่างพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอ
· Leave them just a little hungry(for more).ทิ้งความอยาก(รู้)ไว้เบื้องหลัง เพื่อทำให้เกิดคำถามและต้องติดตาม
· Removing the barriers to communication.พยายามขจัดอุปสรรคกีดขวางในการสื่อความระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง
· stand, deliver, connect ยืน นำเสนออย่างธรรมชาติ และนำผู้ฟังมาเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอ===== บทเรียนการนำเสนอ Presentation ของ STKS
Referenceshttp://stks.or.th/wiki/doku.php?id=presentation:zen

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หลักการนำเสนอ

1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการนำเสนอ
การนำเสนอเป็นหนึ่งในทักษะที่ทุกคนจะต้องฝึกฝนให้เกิดขึ้นแก่ตน เพราะเป็นทางนำมาซึ่งความสำเร็จในการนำผลงาน แผนงาน โครงการและความคิดต่างๆ เสนอเพื่อให้มีการรับรอง หรือ อนุมัติ นับว่าเป็นสิงสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานและการดำเนินชีวิต เป็นที่น่าเสียดายที่รายงานต่างๆ ซึ่งจัดทำมาอย่างดีด้วยความวิริยะอุตสาหะ ใช้เวลามากมายกลับไม่ได้รับความสนใจ และ ไม่เป็นที่ยอมรับ ความคิดที่ดีมีคุณค่าได้จัดทำขึ้นเป็นแผนงาน หรือ โครงการดีๆ ผ่านการศึกษาและวิเคราะห์เป็นอย่างดีมาแล้ว กลับไม่ได้รับการอนุมัติเพียงเพราะขาดการนำเสนอที่ดี
หากท่านมีความคิดว่าจะทำอะไร ( Idea ) หรือมีความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ นำมาจัดทำเป็นแผนโครงการที่รอบคอบ สมบูรณ์ แต่ไม่สามารถนำเสนอให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจ สนใจ และเข้าใจถึงความจำเป็น ความสำคัญ และเห็นคุณค่าจนเกิดการยอมรับ ก็จะเกิดการสูญเปล่าทั้งความคิด และเวลาจนอาจเป็นผลให้เกิดความท้อแท้ใจ และท้อถอยหมดกำลังใจทำงานก็เป็นได้
การที่จะประสพความสำเร็จ ในการนำเสนอจะต้องมีความเข้าใจในความหมาย และความสำคัญของการนำเสนออย่างถ่องแท้ รู้รูปแบบของการนำเสนอ รู้ลักษณะของการนำเสนอที่ดี เสริมสร้างคุณสมบัติของตน และ พัฒนาทักษะในการนำเสนอ

ความหมายของการนำเสนอ
การนำเสนอ ( presentation ) เป็นวิธีการในการสื่อสารถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับงาน แผนงาน โครงการ ข้อเสนอ ผลการดำเนินงานและเรื่องต่างๆ เพื่อความเข้าใจ และจูงใจอาจรวมถึงการสนับสนุนและอนุมัติด้วย
จากความหมายที่กล่าวข้างต้น การจัดทำรายงานต่างๆจึงเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน และเรื่องต่างๆที่ได้รับมอหมายให้ปฏิบัติ ส่วนการเสนอความคิดว่าจะทำอะไร ความเห็น และ ข้อเสนอแนะอาจจัดทำในรูปแผนงาน ( plan ) โครงการ (project ) ข้อเสนอ (proposal) หรือ ข้อเสนอแนะ ( suggestion ) ก็ได้

วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ
การนำเสนออาจมีความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจหลายอย่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เพื่อโน้นน้าวใจ เพื่อให้พิจารณาผลงาน เพื่อให้เห็นด้วย ให้การสนับสนุน หรืออนุมัติ
จากวัตถุประสงค์โดยรวม สามารถใช้การนำเสนอเป็นจุดประสงค์เฉพาะ ดังนี้
1. การต้อนรับ
2. การบรรยายสรุป
3. การประชาสัมพันธ์
4. การขาย การแนะนำสินค้าหรือบริการ
5. การเจรจาทำความตกลง
6. การเจรจาต่อรอง
7. การส่งมอบงาน
8. การฝึกอบรม
9. การสอนงาน
10. การรายงาน
โดยทั่วไป การนำเสนอควรจะมุ่งเน้นในวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง ไม่ควรจะนำเสนอด้วยวัตถุประสงค์ที่มากมายหลายด้าน จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแท้จริง
ความสำคัญของการนำเสนอ
การนำเสนอมีคุณค่าเป็นพิเศษ ทำให้ความคิดความเห็นของผู้นำเสนอ ได้มีการถ่ายทอดไปยังผู้รับการนำเสนอ หากผู้เสนอมีเทคนิคการนำเสนอที่ดี ก็จะทำให้น่าสนใจ น่าพิจารณาและประสพผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับ ในทางตรงกันข้ามหากการนำเสนอขาดเทคนิคที่ดี ก็จะให้ความคิด ความเห็น และรายงาน ตลอดจนข้อเสนอต่างๆไม่น่าสนใจ และไม่ได้รับการพิจารณา การเตรียมการ และ การใช้เวลาการนำเสนออย่างมากมายก็จะไม่เป็นผล ทำให้เกิดการสูญเปล่า
การนำเสนอที่ดีจะทำให้ผู้รับการนำเสนอมีความพึงพอใจให้ความเคารพ ในความคิดของผู้นำเสนอ มีความชื่นชม และ ให้เกียรติยอมรับยกย่อง การนำเสนอก็จะได้รับผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์

รูปแบบของการนำเสนอ
การนำเสนอมีได้หลายรูปแบบ ซึ่งจะต้องพิจารณาเลือกใช้รูปแบบให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ และ ความต้องการของผู้รับการนำเสนอ โดยทั่วไปจะมีการใช้อยู่ สองรูปแบบได้แก่
1. แบบสรุปความ ( qutline )
2. แบบเรียงความ ( essay )
แบบสรุปความ คือ การนำเสนอเนื้อหาทั้งที่เป็นข้อเท็จจริง ความคิดเห็น และ ข้อพิจารณาเป็นข้อๆ
แบบเรียงความ คือ การนำเสนอด้วยการพรรณนา ถึงเนื้อหาละเอียด
การเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และ สถานการณ์ในการนำเสนอ การนำเสนอแบบสรุปความมักใช้ในการนำเสนอ ข้อมูลอันประกอบด้วย ข้อเท็จจริง สิ่งที่ค้นพบ เพื่อให้ผู้รับการนำเสนอรับรู้อย่างรวดเร็ว ส่วนการนำเสนอแบบเรียงความ มักใช้ในการนำเสนอความคิดเห็น และการให้เหตุผลโน้นน้าวชักจูงใจ ซึ่งจะต้องมีการอรรถาธิบาย ในรายละเอียดต่างๆประกอบการนำเสนอ
การเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอ จะพิจารณาปริมาณของเนื้อหาสาระ วัตถุประสงค์ และ จุดมุ่งหมายที่ต้องการบรรจุ การเร้าความสนใจ สถานการณ์ในการนำเสนอ และ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับการนำเสนอกับผู้นำเสนอ

ในการนำเสนอข้อมูลเพื่อการพิจารณา จะนิยมใช้ตาราง และ แผนภาพ ประกอบ เพื่อการวิเคราะห์หรือเปรียบเทียบที่เห็นได้ชัดเจนและรวดเร็ว
ทักษะของผู้นำเสนอ
ผู้นำเสนอจะต้องศึกษาและฝึกฝนตนเองให้มีทักษะหลายด้าน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้นำเสนอที่ดี เพราะผู้นำเสนอเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของการนำเสนอ โดยทั่วไปผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะดังต่อไปนี้
1. ทักษะในการคิด (conceptual skill ) ผู้นำเสนอจะต้องเรียนรู้ และ สร้างความ
ชำนาญชัดเจนในการคิดแม้ว่าจะมีเนื้อหาสาระจากข้อมูลที่มีอยู่ ผู้นำเสนอก็จะต้องคิดพิจารณาเลือกใช้ข้อมูล และลำดับความคิด เพื่อจะนำเสนอให้เหมาะแก่ผู้รับการนำเสนอ ระยะเวลา และโอกาส
2. ทักษะในการฟัง (listening skill ) ผู้นำเสนอจะต้องสดับรับฟัง และสั่งสมปัญญา
เป็นการรอบรู้จากการได้ฟัง ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะนำเสนอเพื่อนำมากลั่นกรอง เรียบเรียงเป็นเนื้อหาในการนำเสนอ
3. ทักษะในการพูด (speaking skill )ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการพูด เพื่อบอกเล่า
เนื่องโน้นน้าวจูงใจ ให้ผู้รับฟังการนำเสนอเห็นด้วย อันจะเป็นทางทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ
4. ทักษะการอ่าน (reading skill ) ผู้นำเสนอจะต้องเป็นนักอ่านที่มีความชำนิชำนาญ
ชัดเจนในการสั่งสมข้อมูล สามารถประมวลความรู้นำมาใช้ในการนำเสนอได้เพียงพอแก่ความต้องการของผู้รับการนำเสนอ
5. ทักษะในการเขียน (writing skill )ผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะการเขียน
เพราะการเขียนเป็นการแสดงความคิด ความเชื่อ ความรู้ ความรู้สึก อารมณ์ และ ทัศนคติ ของผู้เขียนให้ผู้อ่านได้ทราบโดยใช้ตัวอักษร การนำเสนอด้วยการเขียนจึงต้องมีความประณีต พิถีพิถันในการเลือกใช้คำด้วยการรู้ความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ และใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องเหมาะสม
6. ทักษะในการถ่ายทอด (delivery skill ) ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสถานการณ์ในการนำเสนอ
หลักการนำเสนอ

ในการนำเสนอเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆก็ตาม ผู้นำเสนอจะต้องพิจารณาถึงหลักการที่จะใช้เป็นข้อยึดถือ คือให้มีความถูกต้องเหมาะสม มิฉะนั้นจะเกิดผลเสียต่อผู้นำเสนอเองและหน่วยงานของผู้นำเสนอด้วย เพราะการนำเสนอจะส่งผลโดยตรง และ โดยทางอ้อมต่อภาพลักษณ์ของบุคคลและองค์กรที่จัดนำได้ จึงต้องคำนึงถึงหลักการในการกำหนดจุดมุ่งหมายการนำเสนอ การวางโครงสร้างการนำเสนอ และการเตรียมเนื้อหาที่จะนำเสนอ
· การกำหนดจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ
การนำเสนอจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการ ดังนี้
1. ต้องก่อประโยชน์ทั้งต่อฝ่ายผู้นำเสนอและผู้รับการนำเสนอ
2. ต้องคำนึงถึงผู้รับการนำเสนอเป็นหลัก
3. ต้องมีจุดมุ่งหมายที่มีความเป็นไปได้
4. ต้องไม่กำหนดจุดมุ่งหมายมากหลากหลายจนคลุมเครือ
5. ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์

· การวางโครงการนำเสนอ
โครงสร้างการนำเสนอ เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การนำเสนอมีความสมรูป ตามเนื้อหาของการนำเสนอ จึงควรจัดโครงสร้างตามหลักการดังนี้
1. ต้องมีส่วนของการกล่าวนำ ให้รู้ว่าผู้นำเสนอ หรือคณะผู้นำเสนอเป็นใคร หรือ
ประกอบด้วยผู้ใดบ้าง และนำเสนอในนามของหน่วยงานใด บอกชื่อเรื่องที่นำเสนอ พร้อมด้วยวัตถุประสงค์ บอกระยะเวลาที่จะใช้ในการนำเสนอ และแจ้งให้รู้ถึงข้อมูลที่ได้เสนอให้พิจารณาแล้วล่วงหน้า
2. ต้องมีส่วนแจ้งให้รู้ถึงสถานการณ์ ความเป็นมาของเรื่อง ให้รู้ถึงความเดิมก่อนที่
จะนำเสนอว่ามีความสืบเนื่องประการใด
3. ต้องมีส่วนที่ชี้ถึงสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และ ตัวแปรที่สัมพันธ์เกี่ยวข้อง
เช่น ข้อกฎหมาย
4. ต้องมีส่วนที่ชี้ถึงทางเลือกในการแก้ปัญหาพร้อมด้วยการประเมินข้อดีและข้อเสีย
5. ต้องมีส่วนที่เป็นข้อเสนอในการแก้ปัญหาอันเป็นการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดี
ที่สุด
6. ต้องมีส่วนที่เป็นบทสรุป ทั้งข้อเท็จจริง และข้อโต้แย้งที่สำคัญ ถ้าเป็นการนำ
เสนอเพื่อขออนุมัติ จะต้องกล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป ถ้าได้รับอนุมัติ
การเตรียมเนื้อหาที่จะนำเสนอ
เนื้อหาที่จะนำเสนอ เป็นส่วนของสาระสำคัญในการนำเสนอในหลักการทั่วไป จะต้องมีความสมบูรณ์ครบถ้วน ชัดเจน กะทัดรัด กระชับความ มีลักษณะเฉพาะเจาะจง และถูกต้อง เนื้อหาต้องจัดเป็นหมวดหมู่ เรียงลำดับไม่สับสน อย่างระมัดระวัง ทั้งจะต้องคำนึงถึงหลักการเฉพาะของการนำเสนอดังนี้
โครงสร้างการนำเสนอที่นิยมใช้กันทั่วไป มีดังนี้
แบบที่ 1
1. ชื่อเรื่อง
2. วัตถุประสงค์
3. สภาพความเป็นมา
4. ปัญหาพื้นฐาน
5. วิธีการแก้ไข
6. แนวดำเนินการในอนาคต

แบบที่2
1. เรื่องเดิม
2. ข้อเท็จจริง
3. ปัญหาหรือข้อกฎหมาย (ถ้ามี)
4. ข้อพิจารณา ( ทางเลือกต่างๆในการแก้ปัญหา )
5. ข้อเสนอแนะของผู้นำเสนอ

แบบที่ 3
1. ลักษณะความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา
2. ข้อสมมุติฐานหรือสาเหตุของปัญหา หรือตัวแปรที่สัมพันธ์เกี่ยวข้อง
3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
4. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลความหมาย
5. สรุปสาระสำคัญที่ค้นพบ
6. การอภิปรายผล
7. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในการประยุกต์ใช้กับกิจกรรม





1. ต้องคัดเลือกเนื้อหาที่น่าสนใจ ในแง่ของผู้รับการนำเสนอ มิใช่เป็นความต้องการ
ของผู้เสนอฝ่ายเดียว เพราะเท่ากับเป็นการยัดเยียดเนื้อหาที่ทำความอึดอัดรำคาญ ให้แก่ผู้รับการนำเสนอ
2. ต้องจัดทำร่างเนื้อหาตามโครงสร้างให้มีความยาวของเรื่องเหมาะแก่ระยะเวลาใน
การนำเสนอ
3. ต้องเรียบเรียงเรื่องด้วยการลำดับ ให้เกิดความเชื่อมโยงเป็นเอกภาพ อย่าให้เกิด
ความขัดแย้งกัน
4. ต้องแปลงข้อมูลให้เป็นที่เข้าใจง่าย สามารถรับรู้และทำความเข้าใจได้รวดเร็ว
5. ต้องแสดงให้เห็นความสำคัญ หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากข้อคิดเห็นที่นำเสนอ
ในทุกด้าน ด้วยเหตุผล หลักฐานอ้างอิงต่างๆครบถ้วน
6. ต้องระวังการที่จะเชื่อมโยงเหตุผลจากข้อเสนอหนึ่งไปสู่ข้อเสนออีกข้อหนึ่ง ต้อง
ให้สอดคล้องและกลมกลืนกัน
7. ต้องเรียบเรียงเนื้อหาให้สามารถติดตามได้สะดวก และง่ายแก่ความเข้าใจ ตามขั้น
ตอนของเรื่อง หรือตามหมวดหมู่ของเรื่อง หรือตามระยะเวลา หรือตามเหตุการณ์ หรือตามสาเหตุ และ ผล หรือตามความสำคัญของเรื่อง
http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=85d6d470b72ac12edb2b036167b48f0a&pageid=7&bookID=667&read=true&count=true