วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หลักการนำเสนอ

1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการนำเสนอ
การนำเสนอเป็นหนึ่งในทักษะที่ทุกคนจะต้องฝึกฝนให้เกิดขึ้นแก่ตน เพราะเป็นทางนำมาซึ่งความสำเร็จในการนำผลงาน แผนงาน โครงการและความคิดต่างๆ เสนอเพื่อให้มีการรับรอง หรือ อนุมัติ นับว่าเป็นสิงสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานและการดำเนินชีวิต เป็นที่น่าเสียดายที่รายงานต่างๆ ซึ่งจัดทำมาอย่างดีด้วยความวิริยะอุตสาหะ ใช้เวลามากมายกลับไม่ได้รับความสนใจ และ ไม่เป็นที่ยอมรับ ความคิดที่ดีมีคุณค่าได้จัดทำขึ้นเป็นแผนงาน หรือ โครงการดีๆ ผ่านการศึกษาและวิเคราะห์เป็นอย่างดีมาแล้ว กลับไม่ได้รับการอนุมัติเพียงเพราะขาดการนำเสนอที่ดี
หากท่านมีความคิดว่าจะทำอะไร ( Idea ) หรือมีความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ นำมาจัดทำเป็นแผนโครงการที่รอบคอบ สมบูรณ์ แต่ไม่สามารถนำเสนอให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจ สนใจ และเข้าใจถึงความจำเป็น ความสำคัญ และเห็นคุณค่าจนเกิดการยอมรับ ก็จะเกิดการสูญเปล่าทั้งความคิด และเวลาจนอาจเป็นผลให้เกิดความท้อแท้ใจ และท้อถอยหมดกำลังใจทำงานก็เป็นได้
การที่จะประสพความสำเร็จ ในการนำเสนอจะต้องมีความเข้าใจในความหมาย และความสำคัญของการนำเสนออย่างถ่องแท้ รู้รูปแบบของการนำเสนอ รู้ลักษณะของการนำเสนอที่ดี เสริมสร้างคุณสมบัติของตน และ พัฒนาทักษะในการนำเสนอ

ความหมายของการนำเสนอ
การนำเสนอ ( presentation ) เป็นวิธีการในการสื่อสารถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับงาน แผนงาน โครงการ ข้อเสนอ ผลการดำเนินงานและเรื่องต่างๆ เพื่อความเข้าใจ และจูงใจอาจรวมถึงการสนับสนุนและอนุมัติด้วย
จากความหมายที่กล่าวข้างต้น การจัดทำรายงานต่างๆจึงเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน และเรื่องต่างๆที่ได้รับมอหมายให้ปฏิบัติ ส่วนการเสนอความคิดว่าจะทำอะไร ความเห็น และ ข้อเสนอแนะอาจจัดทำในรูปแผนงาน ( plan ) โครงการ (project ) ข้อเสนอ (proposal) หรือ ข้อเสนอแนะ ( suggestion ) ก็ได้

วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ
การนำเสนออาจมีความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจหลายอย่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เพื่อโน้นน้าวใจ เพื่อให้พิจารณาผลงาน เพื่อให้เห็นด้วย ให้การสนับสนุน หรืออนุมัติ
จากวัตถุประสงค์โดยรวม สามารถใช้การนำเสนอเป็นจุดประสงค์เฉพาะ ดังนี้
1. การต้อนรับ
2. การบรรยายสรุป
3. การประชาสัมพันธ์
4. การขาย การแนะนำสินค้าหรือบริการ
5. การเจรจาทำความตกลง
6. การเจรจาต่อรอง
7. การส่งมอบงาน
8. การฝึกอบรม
9. การสอนงาน
10. การรายงาน
โดยทั่วไป การนำเสนอควรจะมุ่งเน้นในวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง ไม่ควรจะนำเสนอด้วยวัตถุประสงค์ที่มากมายหลายด้าน จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแท้จริง
ความสำคัญของการนำเสนอ
การนำเสนอมีคุณค่าเป็นพิเศษ ทำให้ความคิดความเห็นของผู้นำเสนอ ได้มีการถ่ายทอดไปยังผู้รับการนำเสนอ หากผู้เสนอมีเทคนิคการนำเสนอที่ดี ก็จะทำให้น่าสนใจ น่าพิจารณาและประสพผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับ ในทางตรงกันข้ามหากการนำเสนอขาดเทคนิคที่ดี ก็จะให้ความคิด ความเห็น และรายงาน ตลอดจนข้อเสนอต่างๆไม่น่าสนใจ และไม่ได้รับการพิจารณา การเตรียมการ และ การใช้เวลาการนำเสนออย่างมากมายก็จะไม่เป็นผล ทำให้เกิดการสูญเปล่า
การนำเสนอที่ดีจะทำให้ผู้รับการนำเสนอมีความพึงพอใจให้ความเคารพ ในความคิดของผู้นำเสนอ มีความชื่นชม และ ให้เกียรติยอมรับยกย่อง การนำเสนอก็จะได้รับผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์

รูปแบบของการนำเสนอ
การนำเสนอมีได้หลายรูปแบบ ซึ่งจะต้องพิจารณาเลือกใช้รูปแบบให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ และ ความต้องการของผู้รับการนำเสนอ โดยทั่วไปจะมีการใช้อยู่ สองรูปแบบได้แก่
1. แบบสรุปความ ( qutline )
2. แบบเรียงความ ( essay )
แบบสรุปความ คือ การนำเสนอเนื้อหาทั้งที่เป็นข้อเท็จจริง ความคิดเห็น และ ข้อพิจารณาเป็นข้อๆ
แบบเรียงความ คือ การนำเสนอด้วยการพรรณนา ถึงเนื้อหาละเอียด
การเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และ สถานการณ์ในการนำเสนอ การนำเสนอแบบสรุปความมักใช้ในการนำเสนอ ข้อมูลอันประกอบด้วย ข้อเท็จจริง สิ่งที่ค้นพบ เพื่อให้ผู้รับการนำเสนอรับรู้อย่างรวดเร็ว ส่วนการนำเสนอแบบเรียงความ มักใช้ในการนำเสนอความคิดเห็น และการให้เหตุผลโน้นน้าวชักจูงใจ ซึ่งจะต้องมีการอรรถาธิบาย ในรายละเอียดต่างๆประกอบการนำเสนอ
การเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอ จะพิจารณาปริมาณของเนื้อหาสาระ วัตถุประสงค์ และ จุดมุ่งหมายที่ต้องการบรรจุ การเร้าความสนใจ สถานการณ์ในการนำเสนอ และ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับการนำเสนอกับผู้นำเสนอ

ในการนำเสนอข้อมูลเพื่อการพิจารณา จะนิยมใช้ตาราง และ แผนภาพ ประกอบ เพื่อการวิเคราะห์หรือเปรียบเทียบที่เห็นได้ชัดเจนและรวดเร็ว
ทักษะของผู้นำเสนอ
ผู้นำเสนอจะต้องศึกษาและฝึกฝนตนเองให้มีทักษะหลายด้าน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้นำเสนอที่ดี เพราะผู้นำเสนอเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของการนำเสนอ โดยทั่วไปผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะดังต่อไปนี้
1. ทักษะในการคิด (conceptual skill ) ผู้นำเสนอจะต้องเรียนรู้ และ สร้างความ
ชำนาญชัดเจนในการคิดแม้ว่าจะมีเนื้อหาสาระจากข้อมูลที่มีอยู่ ผู้นำเสนอก็จะต้องคิดพิจารณาเลือกใช้ข้อมูล และลำดับความคิด เพื่อจะนำเสนอให้เหมาะแก่ผู้รับการนำเสนอ ระยะเวลา และโอกาส
2. ทักษะในการฟัง (listening skill ) ผู้นำเสนอจะต้องสดับรับฟัง และสั่งสมปัญญา
เป็นการรอบรู้จากการได้ฟัง ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะนำเสนอเพื่อนำมากลั่นกรอง เรียบเรียงเป็นเนื้อหาในการนำเสนอ
3. ทักษะในการพูด (speaking skill )ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการพูด เพื่อบอกเล่า
เนื่องโน้นน้าวจูงใจ ให้ผู้รับฟังการนำเสนอเห็นด้วย อันจะเป็นทางทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ
4. ทักษะการอ่าน (reading skill ) ผู้นำเสนอจะต้องเป็นนักอ่านที่มีความชำนิชำนาญ
ชัดเจนในการสั่งสมข้อมูล สามารถประมวลความรู้นำมาใช้ในการนำเสนอได้เพียงพอแก่ความต้องการของผู้รับการนำเสนอ
5. ทักษะในการเขียน (writing skill )ผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะการเขียน
เพราะการเขียนเป็นการแสดงความคิด ความเชื่อ ความรู้ ความรู้สึก อารมณ์ และ ทัศนคติ ของผู้เขียนให้ผู้อ่านได้ทราบโดยใช้ตัวอักษร การนำเสนอด้วยการเขียนจึงต้องมีความประณีต พิถีพิถันในการเลือกใช้คำด้วยการรู้ความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ และใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องเหมาะสม
6. ทักษะในการถ่ายทอด (delivery skill ) ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสถานการณ์ในการนำเสนอ
หลักการนำเสนอ

ในการนำเสนอเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆก็ตาม ผู้นำเสนอจะต้องพิจารณาถึงหลักการที่จะใช้เป็นข้อยึดถือ คือให้มีความถูกต้องเหมาะสม มิฉะนั้นจะเกิดผลเสียต่อผู้นำเสนอเองและหน่วยงานของผู้นำเสนอด้วย เพราะการนำเสนอจะส่งผลโดยตรง และ โดยทางอ้อมต่อภาพลักษณ์ของบุคคลและองค์กรที่จัดนำได้ จึงต้องคำนึงถึงหลักการในการกำหนดจุดมุ่งหมายการนำเสนอ การวางโครงสร้างการนำเสนอ และการเตรียมเนื้อหาที่จะนำเสนอ
· การกำหนดจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ
การนำเสนอจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการ ดังนี้
1. ต้องก่อประโยชน์ทั้งต่อฝ่ายผู้นำเสนอและผู้รับการนำเสนอ
2. ต้องคำนึงถึงผู้รับการนำเสนอเป็นหลัก
3. ต้องมีจุดมุ่งหมายที่มีความเป็นไปได้
4. ต้องไม่กำหนดจุดมุ่งหมายมากหลากหลายจนคลุมเครือ
5. ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์

· การวางโครงการนำเสนอ
โครงสร้างการนำเสนอ เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การนำเสนอมีความสมรูป ตามเนื้อหาของการนำเสนอ จึงควรจัดโครงสร้างตามหลักการดังนี้
1. ต้องมีส่วนของการกล่าวนำ ให้รู้ว่าผู้นำเสนอ หรือคณะผู้นำเสนอเป็นใคร หรือ
ประกอบด้วยผู้ใดบ้าง และนำเสนอในนามของหน่วยงานใด บอกชื่อเรื่องที่นำเสนอ พร้อมด้วยวัตถุประสงค์ บอกระยะเวลาที่จะใช้ในการนำเสนอ และแจ้งให้รู้ถึงข้อมูลที่ได้เสนอให้พิจารณาแล้วล่วงหน้า
2. ต้องมีส่วนแจ้งให้รู้ถึงสถานการณ์ ความเป็นมาของเรื่อง ให้รู้ถึงความเดิมก่อนที่
จะนำเสนอว่ามีความสืบเนื่องประการใด
3. ต้องมีส่วนที่ชี้ถึงสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และ ตัวแปรที่สัมพันธ์เกี่ยวข้อง
เช่น ข้อกฎหมาย
4. ต้องมีส่วนที่ชี้ถึงทางเลือกในการแก้ปัญหาพร้อมด้วยการประเมินข้อดีและข้อเสีย
5. ต้องมีส่วนที่เป็นข้อเสนอในการแก้ปัญหาอันเป็นการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดี
ที่สุด
6. ต้องมีส่วนที่เป็นบทสรุป ทั้งข้อเท็จจริง และข้อโต้แย้งที่สำคัญ ถ้าเป็นการนำ
เสนอเพื่อขออนุมัติ จะต้องกล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป ถ้าได้รับอนุมัติ
การเตรียมเนื้อหาที่จะนำเสนอ
เนื้อหาที่จะนำเสนอ เป็นส่วนของสาระสำคัญในการนำเสนอในหลักการทั่วไป จะต้องมีความสมบูรณ์ครบถ้วน ชัดเจน กะทัดรัด กระชับความ มีลักษณะเฉพาะเจาะจง และถูกต้อง เนื้อหาต้องจัดเป็นหมวดหมู่ เรียงลำดับไม่สับสน อย่างระมัดระวัง ทั้งจะต้องคำนึงถึงหลักการเฉพาะของการนำเสนอดังนี้
โครงสร้างการนำเสนอที่นิยมใช้กันทั่วไป มีดังนี้
แบบที่ 1
1. ชื่อเรื่อง
2. วัตถุประสงค์
3. สภาพความเป็นมา
4. ปัญหาพื้นฐาน
5. วิธีการแก้ไข
6. แนวดำเนินการในอนาคต

แบบที่2
1. เรื่องเดิม
2. ข้อเท็จจริง
3. ปัญหาหรือข้อกฎหมาย (ถ้ามี)
4. ข้อพิจารณา ( ทางเลือกต่างๆในการแก้ปัญหา )
5. ข้อเสนอแนะของผู้นำเสนอ

แบบที่ 3
1. ลักษณะความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา
2. ข้อสมมุติฐานหรือสาเหตุของปัญหา หรือตัวแปรที่สัมพันธ์เกี่ยวข้อง
3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
4. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลความหมาย
5. สรุปสาระสำคัญที่ค้นพบ
6. การอภิปรายผล
7. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในการประยุกต์ใช้กับกิจกรรม





1. ต้องคัดเลือกเนื้อหาที่น่าสนใจ ในแง่ของผู้รับการนำเสนอ มิใช่เป็นความต้องการ
ของผู้เสนอฝ่ายเดียว เพราะเท่ากับเป็นการยัดเยียดเนื้อหาที่ทำความอึดอัดรำคาญ ให้แก่ผู้รับการนำเสนอ
2. ต้องจัดทำร่างเนื้อหาตามโครงสร้างให้มีความยาวของเรื่องเหมาะแก่ระยะเวลาใน
การนำเสนอ
3. ต้องเรียบเรียงเรื่องด้วยการลำดับ ให้เกิดความเชื่อมโยงเป็นเอกภาพ อย่าให้เกิด
ความขัดแย้งกัน
4. ต้องแปลงข้อมูลให้เป็นที่เข้าใจง่าย สามารถรับรู้และทำความเข้าใจได้รวดเร็ว
5. ต้องแสดงให้เห็นความสำคัญ หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากข้อคิดเห็นที่นำเสนอ
ในทุกด้าน ด้วยเหตุผล หลักฐานอ้างอิงต่างๆครบถ้วน
6. ต้องระวังการที่จะเชื่อมโยงเหตุผลจากข้อเสนอหนึ่งไปสู่ข้อเสนออีกข้อหนึ่ง ต้อง
ให้สอดคล้องและกลมกลืนกัน
7. ต้องเรียบเรียงเนื้อหาให้สามารถติดตามได้สะดวก และง่ายแก่ความเข้าใจ ตามขั้น
ตอนของเรื่อง หรือตามหมวดหมู่ของเรื่อง หรือตามระยะเวลา หรือตามเหตุการณ์ หรือตามสาเหตุ และ ผล หรือตามความสำคัญของเรื่อง
http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=85d6d470b72ac12edb2b036167b48f0a&pageid=7&bookID=667&read=true&count=true

18 ความคิดเห็น:

  1. ส่งงาน
    http:www//pardee.2511.blogspot.com/

    ตอบลบ
  2. การเลื่อนระดับของสมาชิก อกท.
    ความหมายของการเลื่อนระดับ
    หมายถึง การสร้างประสบการณ์และการเชิดชูเกียรติของสมาชิก
    กติกาในการเลื่อนระดับ
    1. ต้องศึกษาอยู่ในวิทยาลัยเกษตรฯ
    2. ต้องเขียนคติพจน์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้
    3. ต้องพูดคติพจน์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้
    4. ต้องพูดในที่ชุมชนไม่ต่ำกว่า 5 นาที
    5. ต้องทำโครงการการหารายได้ระหว่างเรียน

    ระดับของสมาชิก
    1. สมาชิกใหม่
    2. สมาชิกระดับหน่วย
    3. สมาชิกระดับภาค
    4. สมาชิกระดับชาติ
    สมาชิกใหม่
    นักศึกษาที่เข้ามาศึกษาต่อในวิทยาลัยเกษตรฯ เป็นปีแรก
    สมาชิกระดับหน่วย
    นักศึกษาที่เลื่อนระดับจากสมาชิกใหม่เป็นสมาชิกระดับหน่วย
    สมาชิกระดับภาค
    นักศึกษาที่เลื่อนระดับจากสมาชิกระดับหน่วยเป็นสมาชิกระดับภาค
    สมาชิกระดับชาติ
    นักศึกษาที่เลื่อนระดับจากสมาชิกระดับภาคเป็นสมาชิกระดับชาติ
    นายจิตรกร ปุ่นเกษม นางสาวนภาพร แซ่หว่า

    ตอบลบ
  3. ส่งงาน
    โครงการสร้างฝายชะลอน้ำ
    ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
    ตัวแทนโครงการ
    นายกิตติพงษ์ แซ่เถา ชั้นปวช.2/5 เลขที่ 4
    นายชาญชัย แซ่เถา ชั้นปวช.2/5 เลขที่ 11
    ปัจจุบันเกิดน้ำท่วมในพื้นที่
    ประเทศไทยบริเวณต่างๆ
    เป็นจำนวนมากครั้ง
    เนื่องจากต้นไม้ถูกทำลายไม่มีที่ยึดเกาะน้ำไว้
    ไม่มีฝายช่วยชะลอน้ำ
    การสร้างฝ่ายชะลอน้ำยังช่วยรักษาความสมุดล
    ของธรรมชาติ
    จึงอยากให้ทุกคนสร้างฝายชะลอน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมอีกต่อไป
    กระผมและทีมงานคนอื่นๆ พร้อมไห้คำแนะนำและสนับสนุนการสร้างฝายชะลอน้ำ

    ตอบลบ
  4. เรื่อง การหาปํญหาและการแก้ไขปัญหาของนักศึกษาที่ไม่ร่วมกจิกรรม
    ปัญหา
    นักศึกไม่ให้ความร่วมมือ
    ไม่มีผู้นำที่มั่นคง
    ไม่มีผู้คุมในกิจกรรม
    ความร่วมมือของคณะครู
    การวางแผนการทำงานของผู้คุมกิจกรรม
    สาเหตุ
    น่าเบื่อ
    ทำกิจกรรมซ้ำๆ
    ไม่มีกิจกรรมในเชิงวิชาการ
    หาวิธีการแก้ไขปัญหา
    ศึกษาจากรุ่นพี่
    ให้สมาชิกเสนอความคิดเห็น
    ให้สมาชิกทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ
    ผู้นำต้องเป็นรุ่นพี่
    ผู้นำต้องเข้มแข็ง เป็นคนเด็ดขาด
    นำมาใช้กับสมาชิก
    เล่นเกมส์เชิงวิชาการ
    ทำกิจกรรมที่ตนชอบ


    สรุป
    มีสมาชิกเพิ่มขึ้น
    มีกิจกรรมเพิ่ม
    น.ส แคทลียา ธีรัตน์ณิชกุล
    น.ส.ปราณี จรูญสกุลวงศ์

    ตอบลบ
  5. ภาวะโลกร้อน
    ก๊าซเรือนกระจก

    จะมีอยู่ในบรรยากาศโลกตามธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีคุณสมบัติดูดกลืนความร้อน ทำให้โลกอบอุ่น และเอื้อให้สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ในโลกได้

    สาเหตุของการทิ้งขยะ
    - ทิ้งขยะไม่เป็นที่
    - ความขี้เกลียด
    - ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์
    - ขาดความสามัคคี

    การทิ้งขยะที่ถูกต้อง
    - ทิ้งลงถังขยะที่มีให้
    - ช่วยกันเก็บขยะที่อยู่ขวางหน้าลงถังขยะ
    - ถ้าเป็นกระดาษ หรือขวดพลาสติกให้แยก

    การแปรรูป
    - นำเอากระดาษ หรือขวดพลาสติกมาลีไซเคิล เป็นรูปต่างๆ
    เช่น สิ่งของตกแต่งบ้าน เป็นต้น

    นางสาวจุรีรัตน์ แซ่ท้าว ชั้นปวช. 2/5 เลขที่ 28
    นางสาวณัฐภัทร แซ่มัว ชั้นปวช. 2/5 เลขที่ 13

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ25 พฤษภาคม 2552 เวลา 01:19

    ส่งงาน
    เรื่อง สิ่งแวดล้อม
    รายชื่อผู้จัดทำ
    นางสาวชาลินันท์ แซ่เฮอ
    นางสาวกฤติกา แซ่เฮอ
    เสนอ
    อาจารย์ภาดี ขุนนนท์
    ปัญหาของสิ่งแวดล้อม
     สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินับวันแต่จะถูกทำลายลงไปเรื่อย ๆ โดยทีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายและสูญเสียได้ 3 ทาง คือ
    1. มนุษย์
    2. สัตว์และโรคต่าง ๆ
    3. ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
    การสูญเสียเนื่องจากมนุษย์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้

    1. การเพิ่มของประชากร
    2. การขยายตัวของเมือง
    3. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
    4. การสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
    5. การกีฬา
    7. ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
    การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
    1. ต้องใช้ทรัพยากรอย่างฉลาด กล่าวคือ ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ถึงผลได้ผลเสียจากการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐศาสตร์ และเมื่อใช้แล้ว จะเกิดการขาดแคลนในอนาคตหรือไม่
    2. ประหยัดของที่หายาก หมายความว่า ทรัพยากรใดที่มีน้อยหรือหายากก็ควรเก็บรักษาหรือสงวนเอาไว้ไม่ให้สูญหายไป ของบางอย่างถ้าอยู่ในสภาพที่พอจะใช้ได้ก็ควรจะใช้ต่อไป และใช้อย่างประหยัดอย่าฟุ่มเฟือย
    3. หาวิธีฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีหรือเสื่อมโทรมให้ดีขึ้น
    กล่าวคือ ทรัพยากรใดที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญเปล่าหรือหมดไป ก็ควรที่จะซ่อมแซมหรือปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น

    ตอบลบ
  7. งบประมาณในการซื้อคอมพิวเตอร์และการต่ออินเตอร์ความเร็วสูง
    งบประมาณในการซื้อคอมพิวเตอร์ต่อเครื่อง
    จำนวน 50 เครื่อง
    - เครื่องละ 15,000 บาท
    - รวมจำนวนเงินทั้งสิน 750,000 บาท


    รุ่นของคอมพิวเตอร์


    วัตถุประสงค์
    เนื่องจากทางวิทยาลัย ฯ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่พอสำหรับนักเรียนนักศึกษา และเพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้ใช้เครื่องคอม ฯ ได้พอ
    นายชูเกียติ แซ่เฮ้อ นายศิวกร แซ่จ๋าว

    ตอบลบ
  8. มี 7 ขั้นตอน
    1. ฝ่ามือถูกัน
    2. ฝ่ามือถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว
    3. ฝ่ามือถูฝ่ามือและนิ้วถูซอกนิ้ว
    4. หลังนิ้วมือถูฝ่ามือ
    5. ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ
    6. ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ
    7. ถูรอบข้อมือ

    น.ส.นันทนา สุวรรณนันทกุล
    น.ส.กัญญารัตน์ ย่างสกุลกิจ

    ตอบลบ
  9. การเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ
    เพราะการตัดไม้ทำลายป่าและการใช้เครื่องจักร
    ที่ใช้ น้ำมันเชื้อเพลิงให้เกิดภาวะโลกร้อน
    ฝนไม่ตกตามฤดูกาล หิมะตกในที่ที่เคยไม่ตก
    นายณัฐพงศ์ แสนโซ้ง

    ตอบลบ
  10. โครงการปลูกป่ารักษาทรัพยากรธรรมชาติ
    จัดทำโดย
    นายณัฐพงศ์ แสนโซ้ง
    ชั้นปวช. 2/5
    การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
    ผมอยากให้เพื่อนทุกคนใช้การ ทรัพยากรธรรมชาติ
    ให้มีคุณและใช้อย่างมีประโยชน์
    การปลูกป่า
    เพราะในปัจจุบันมนุษย์หันมาใช้เครื่องจักรที่ใช้ น้ำมันเชื้อเพลิงแทนทำให้เกิดการเผาไหม้ของ
    น้ำมันที่ทำรายชั้นบรรยากาศ
    การลดภาวะโลกร้อน
    การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าใช้การปิดน้ำปิดไฟ ใช้รถ โดยสารแทนรถ
    ส่วนตัวและช่วยกันปลูกป่าแทนที่เสียไป
    การเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ
    เพราะการตัดไม้ทำลายป่าและการใช้เครื่องจักร
    ที่ใช้ น้ำมันเชื้อเพลิงให้เกิดภาวะโลกร้อน
    ฝนไม่ตกตามฤดูกาล หิมะตกในที่ที่เคยไม่ตก

    ตอบลบ
  11. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ25 พฤษภาคม 2552 เวลา 01:37

    สารเสพติด
    ความหมายของสารเสพติด
    ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้
    ประเภทของสารเสพติด
    ประเภทกดประสาท
    1ฝิ่น   2มอร์ฟีน   3เฮโรอีน  4ยานอนหลับ
    ประเภทกระตุ้นประสประเภทหลอนประสาท
    แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย
    1 ยาบ้า 2 ยาอี  3กระท่อม   4โคเคน
    ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน
    คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน
    การป้องกันการติดยาเสพติด
      ๑. ป้องกันตนเอง
    ๒. ป้องกันครอบครัว
     ๓. ป้องกันชุมชน
    ลักษณะการติดยาเสพติด
    ยาเสพติดบางชนิดก่อให้เกิดการติดได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
    แต่ยาเสพติดบางชนิด  ก็ก่อให้เกิดการติดทางด้านจิตใจเพียงอย่างเดียว
    การติดยาทางกาย
    การติดยาทางกายอาการผิดปกติอย่างมาก  เช่น การติดฝิ่น มอร์ฟีน
    เฮโรอีน เมื่อขาดยา จะมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน หาว น้ำมูก น้ำตาไหล
    นอนไม่หลับ เจ็บปวดทั่วร่างกาย เป็นต้น
    การติดยาทางใจ
    เป็นการติดยาเสพติดเพราะจิตใจเกิดความต้องการ หรือ เกิดการติดเป็นนิสัย
    หากไม่ได้เสพร่างกาย ก็จะไม่เกิดอาการผิดปกติ หรือ ทุรนทุรายแต่อย่างใดจะมีบ้างก็เพียงเกิดอาการ หงุดหงิด หรือกระวน กระวายใจเท่านั้น

    ตอบลบ
  13. ขั้นตอนการลดความอ้วน
    โดย

    นางสาวกานต์ทิพย์ กกขุนทด
    นางสาวนรินทร์ จิตบริสุทธิ์
    ชั้น ปวช. 2/5

    เสนอ
    อาจารย์ภาดี ขุนนนท์
    การรับประทานอาหาร
    รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ควรงดอาหารที่มีแป้ง ไขมัน และน้ำตาล ไม่ควรงดรับปะทานอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง เพราะอาจจะทำให้เรารับประทานอาหารในมื้อถัดไปมากเกินไป และควรรับประทานอาหารประเภทผักใบสีเขียว เพราะมีใยอาหารสูง
    การออกกำลังกาย
    โดยการวิ่ง การเดินเร็ว จะเป็นการออกกำลังกายที่ใช้ออกซิเจน ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ดีสำหรับทุกคน แต่ก็ควรทำอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 20-30 นาที และไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น และจะช่วยทำให้โลหิตหมุนเวียนดีขึ้น จะช่วยควบคุมความอยากอาหาร และทำให้ความหิวน้อยลง การออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยลดการชดเชยพลังงานที่เกิดขึ้น ในขณะที่น้ำหนักลดลง เพราะโดยทั่วไปอัตราการเผาผลาญจะลดลงเมื่อน้ำหนักลด ดังนั้นการออกกำลังกายจึงชดเชยผลการตอบสนองของร่างกายดังกล่าว น้ำหนักจึงได้ลดลงมากขึ้น
    วิธีการควบคุมน้ำหนัก
    การรับประทานโปรตีนทดแทนอาหารกลุ่มอื่นๆ จำพวกคาร์โบไฮเดรต หรือไขมัน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คุณผู้หญิงควรทานโปรตีนประมาณวันละ1/3 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 ปอนด์ ดังนั้นสมมุติว่าหากคุณมีน้ำหนักตัว 145 ปอนด์หรือ 65 กิโลกรัม คุณก็ควรทานโปรตีนประมาณ 48 กรัม การทานพวกผักผลไม้มากๆ จะส่งผลดีต่อการควบคุมน้ำหนัก เพราะพืชผักพวกนี้จะทำให้อิ่มเร็วพร้อมกับแคลอรีไม่มากนัก หรืออีกวิธีคือถ้าในเมนูวันนั้นเป็นพวกเนื้อสัตว์ ชีส พาสต้า หรือข้าว คุณก็อาจจะเลือกทานเพียงครึ่งเดียวแต่ไปเพิ่มผักเข้าไป อีกเท่าตัว ทีนี้ก็แน่นอนว่า คุณจะสามารถอิ่มอร่อยแบบไม่อ้วนได้
    เคล็ดลับการควบคุมน้ำหนัก
    ต้องมีจิตใจเข้มแข็ง และมีความตั้งใจจริงที่จะลดน้ำหนักซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสัญญากับตนเองว่า จะปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้ เพื่อลดน้ำหนักตนเองลงให้ได้ โดยหลีกเลี่ยงข้อแก้ตัวต่าง ๆ ที่จะเป็นปัญหาในการลดน้ำหนัก เช่น ถ้าได้รับเชิญไปกินเลี้ยงต้องวางแผนไว้ก่อนว่าในมื้ออื่น ๆ จะต้องกินอาหารอย่างไรเพื่อควบคุมการกินอาหาร แต่ละวันให้กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และครบ 3 มื้อ การงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งเพื่อลดความอ้วนเป็นวิธีที่ไม่สมควร เพราะเป็นการบั่นทอนสุขภาพ ลดอาหารประเภท ข้าว แป้ง น้ำตาล และไขมันลง แต่กินอาหารพวกพืชผัก ผลไม้ให้มากขึ้น มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอกจากควบคุมการกินอาหารแล้ว ถ้าได้มีโอกาสออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย จะทำให้ผลการลดน้ำหนักดียิ่งขึ้น เพราะจะเป็นการใช้พลังงานที่ร่างกายได้รับจากอาหารไม่มีการสะสมไขมัน

    ตอบลบ
  14. สารเสพติด
    ความหมายของสารเสพติด
    ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้
    ประเภทของสารเสพติด
    ประเภทกดประสาท
    1ฝิ่น 2มอร์ฟีน 3เฮโรอีน 4ยานอนหลับ
    ประเภทกระตุ้นประสประเภทหลอนประสาท
    แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย
    1 ยาบ้า 2 ยาอี 3กระท่อม 4โคเคน
    ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน
    คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน
    การป้องกันการติดยาเสพติด
    ๑. ป้องกันตนเอง
    ๒. ป้องกันครอบครัว
    ๓. ป้องกันชุมชน
    ลักษณะการติดยาเสพติด
    ยาเสพติดบางชนิดก่อให้เกิดการติดได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
    แต่ยาเสพติดบางชนิด ก็ก่อให้เกิดการติดทางด้านจิตใจเพียงอย่างเดียว
    การติดยาทางกาย
    การติดยาทางกายอาการผิดปกติอย่างมาก เช่น การติดฝิ่น มอร์ฟีน
    เฮโรอีน เมื่อขาดยา จะมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน หาว น้ำมูก น้ำตาไหล
    นอนไม่หลับ เจ็บปวดทั่วร่างกาย เป็นต้น
    การติดยาทางใจ
    เป็นการติดยาเสพติดเพราะจิตใจเกิดความต้องการ หรือ เกิดการติดเป็นนิสัย
    หากไม่ได้เสพร่างกาย ก็จะไม่เกิดอาการผิดปกติ หรือ ทุรนทุรายแต่อย่างใดจะมีบ้างก็เพียงเกิดอาการ หงุดหงิด หรือกระวน กระวายใจเท่านั้น

    ตอบลบ
  15. ไม่ระบุชื่อ25 พฤษภาคม 2552 เวลา 01:53

    นาย จอย แซ่หลี
    นาย ทื่อ แซ่ท่อ ปวช 2/5

    องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
    มีส่วนสำคัญ ๖ ส่วน คือ
    ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
    คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แผ่นวงจร สายไฟฟ้า และพลาสติกเป็นต้น
    ซอฟต์แวร์ ( Software )
    คือ ชุดคำสั่งที่มีไว้สำหรับส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ทำงานให้เรา ซอร์ฟแวร์เป็นสิ่งที่เราจับต้องไม่ได้ซึ่งจะเขียนออกมาในรูปของคำสั่งในภาษาของคอมพิวเตอร์
    ข้อมูล (Data )
    คือข้อมูลต่าง ๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลคำนวณ หรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้กลายเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ปัจจุบันเราถือกันว่าข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์
    บุคลากร ( People ware)
    คือผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ คือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต่าง ๆ และผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในหน่วยงาน บุคลากรคอมพิวเตอร์นั้นมีความสำคัญมาก
    ระเบียบคู่มือ และมาตรฐาน (Procedure)
    คือระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกันมีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้ การจัดทำมาตรฐานด้านคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องขึ้น จะช่วยในการประสานงานระหว่างหน่วยงานย่อย ๆ ราบรื่นขึ้น
    ระบบสื่อสารข้อมูล ( Data communication)
    หมายถึงระบบสื่อสาร และอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราสามารถส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปถึงคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างออกไปได้

    ตอบลบ
  16. องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
    ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
    • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
    • หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
    • หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
    • หน่วยความจำหลัก
    • หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
    • หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
    ซอฟต์แวร์ (Software) คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
    • ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
    • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
    • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
    • ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ
    • หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
    • บุคลากร (People ware) เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
    • ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information) ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
    • ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
    นายนำชัย แซ่เติ๋น

    ตอบลบ
  17. เรื่อง แหล่งท่องเที่ยวอำเภอเขาค้อ
    โดย
    นางสาวนันทิตา แซ่หลอ
    นางสาวดาว แซ่สง
    ชั้น ปวช. 2/5

    พระบรมธาตุเจดีย์กาญจนภิเษก
    น้ำตกศรีดิษฐ์
    พระตำหนักเขาค้อ
    อนุสรณ์สถาน
    หอสมุดนานาชาติ
    ทะเลหมอก

    ขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้

    ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามชม

    ด้วยความเคารพ

    ตอบลบ
  18. สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดน่าน
    งานนำเสนอ

    เรื่อง สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดน่าน

    - ล่องแก่งลำน้ำว้า
    - ต้นดิกเดียม วัดปรางค์
    - อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
    - วัดพระธาตุเบ็งสกัด
    - วัดต้นแหลง
    - บ่อเกลือสินเธาว์
    - อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
    - อนุสาวรีย์วีรกรรม พลเรือน ตำรวจ ทหาร และ พิพิธภัณฑ์ทหารทุ่งช้าง
    - บ้านมณีพฤกษ์
    - แผ่นดินดอย
    จังหวัดน่าน เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่อยู่ทาง ภาคเหนือ ของประเทศไทย จังหวัดน่าน มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ของจังหวัดทั้งหมดใน ประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่มากกว่า 11,472 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของ
    หอศิลป์ริมน่าน  เป็นแหล่งเรียนรู้และ สถานที่ท่องเที่ยว ที่สำคัญของ จังหวัดน่าน อีกที่หนึ่งซึ่ง หอศิลป์ริมน่าน จะเป็นสถานที่ เผยแพร่งานศิลปะร่วมสมัย ที่สำคัญของ ประเทศไทย โดยได้เปิดให้ ประชาชนทั่วไป ได้เข้าชม
    วัดพระธาตุแช่แห้งจังหวัดน่าน เป็นปูชนียสถาน ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ พระบรมธาตุแช่แห้ง ยังเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมือง ของชาวไทยล้านนา และเป็นที่เคารพ นับถือของพุทธศาสนิกชน


    นางสาวพรรณิภา แซ่เล้า ปวช.2/5 เลขที่ 25
    นางสาววรรณิสา กำธรธีรเดช ปวช.2/5 เลขที่ 27
    เสนอ
    อาจารย์ ภาดี ขุนนนท์

    ตอบลบ